เศรษฐศาสตร์
สรุปเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้ประชาชนเกิดความพอใจมากที่สุด
*ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัดขณะที่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด*
อดัม สมิธ (Adam Smith) เป็น บิดาเศรษฐศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์
อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred Marshall) เป็น บิดาเศรษฐศาสตร์จุลภาค ชาวอังกฤษ
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) เป็น บิดาเศรษฐศาสตร์มหภาค ชาวอังกฤษ
ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ มูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียโอกาสไปในการเลือกทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง
ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ โดยที่
- ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ค่าเช่า
- แรงงาน ค่าจ้าง
- ผู้ที่เป็นเจ้าของทุน ดอกเบี้ย
- ผู้ประกอบการ กำไล
☆เงินไม่ใช่ทุน
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ มนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด ทุกประเทศมีปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เหมือนกันคือ ประเทศจะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น
- จะผลิตอะไร (What) : ควรผลิตสินค้า-บริการอะไร ในปริมาณเท่าใด
- จะผลิตอย่างไร (How) : โดยใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- จะผลิตเพื่อใคร (For Whom) : จะกระจายสินค้าบริการไปให้ใคร
☆*.•°.*☆ °•.°•.°☆°°•°.☆°.°•*.••☆•••°
อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ
ราคาสินค้าแพงขึ้น อุปสงค์ลดน้อยลง
ราคาสินค้าถูกลง อุปสงค์ก็เพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์
- ราคาของสินค้า
- รายได้ของผู้บริโภค จะเลือกสินค้าที่ถูกกว่าเสมอ
- ราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 2 ประเภทสินค้าทดแทนกัน สินค้าที่ใช้ประกอบกัน
- รสนิยมของผู้บริโภค
- การคาดการณ์รายได้ในอนาคต
- ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฤดูกาล จำนวนประชากร ฯลฯ
กฎของอุปสงค์
“ราคาและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะมีความสัมพันธ์กันในทิศตรงกันข้าม”
อุปทาน (Supply) ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า
แพงขึ้น อุปทานมากขึ้น
ถูกลง อุปทานลดลง
ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน
- ราคาของสินค้า
- ราคาของปัจจัยการผลิตหรือต้นทุนการ
- ราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- เทคโนโลยีในการผลิตสินค้า
- การคาดการณ์ในอนาคต
- ปัจจัยอื่น เช่น ฤดูกาล ภาษีและเงินอุดหนุน จำนวนผู้ขาย และโครงสร้างตลาดสินค้า
กฎของอุปทาน
“ปริมาณความต้องการขายสินค้าและราคาสินค้ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน”
ภาวะดุลยภาพ (Equilibrium) หมายถึง ระดับราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายเห็นพ้องต้องกัน [akaมีการซื้อขาย]
☆ระดับราคาที่อุปสงค์เท่ากับอุปทาน หรือเส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน
จุดที่ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพจะเกิดอุปทานส่วนเกิน
ส่วนจุดที่ราคาต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
นโยบายการกำหนดราคาขั้นต่ำ (Minimum Price Policy)
ช่วยผู้ผลิตให้สามารถขายสินค้าได้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร และตลาดปัจจัยการผลิตเช่น ตลาดแรงงาน หากปล่อยให้กลไกตลาดทำงานโดยเสรีแล้ว จะมีผลให้ราคาดุลยภาพอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม รัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาดโดยการกำหนดราคาขั้นต่ำ
*กล่าวคือ เป็นการทำให้ราคาของที่มีราคาต่ำเป็นของที่มีราคาสูงขึ้น*
นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูง (Maximum Price Policy)
นโยบายกำหนดราคาขั้นสูงมักใช้ในกรณีของสินค้าที่ผู้บริโภคทุกระดับรายได้จำเป็นต้องซื้อ เช่น นมผงสำหรับทารก น้ำตาลทราย น้ามันเบนซิน ฯลฯ เป็นต้น
*กล่าวคือ เป็นการทำให้ราคาของที่มีราคาสูงเป็นของที่มีราคาต่ำลง*
ตลาด (Market) เป็นสถานที่ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการกัน
ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
- ไม่ต้องมีสถานที่เพื่อมาตกลงซื้อขายกัน
- ไม่ต้องมีการพบกัน เช่น ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดหลักทรัพย์
การบริการส่งถึงที่ (Delivery) และ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
ประเภทของตลาด แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
- มีจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจำนวนมาก
- สินค้าที่ขายในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ หลากหลาย
- ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี โดยมีกำไรเป็นแรงจูงใจ
- ควบคุมราคาไม่ได้
“ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นตลาดในอุดมคติ”
ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
☆ตลาดผูกขาด หมายถึง ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขายเพียงรายเดียว เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง
☆ตลาดผู้ขายน้อยร้าย มีผู้ขายหรือผู้ผลิตจำนวนน้อย ต้องสนใจแนวทางการดำเนินงานของคู่แข่งด้วย
ตัวอย่าง น้ำมัน : ปตท เอสโซ่ บางจาก
โทรศัพท์มือถือ : ไอโฟน ซัมซุง แบล็คเบอรี่
รถยนต์ : ฮอนด้า โตโยต้า อิซูซุ
ซีเมนต์ : ซีแพค ทีพีไอ
☆ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด มีผู้ขายหรือผู้ผลิตในตลาดเป็นจำนวนมาก ผู้ผลิตแต่ละรายได้ส่วนแบ่งตลาดน้อย ไมามีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา สินค้ามีลักษณะแตกต่างกัน
ตัวอย่าง สบู่ : ลักซ์ นกแก้ว อิมพีเรียล
ยาสีฟัน : คอลเกต ดาร์ลี่ กลิสเตอร์
ชาเขียว : อิชิตัน โออิชิ
ลูกอม : ฮอน คูก้า มายมิ้นท์
น้ำปลา : ทิพรส ตราปลาหมึก
หน้าที่ของตลาดในเชิงเศรษฐศาสตร์
- จัดหาสินค้า (Assembling)
- เก็บรักษาสินค้า (Storage)
- ขายสินค้า (Selling)
- กำหนดมาตรฐานของสินค้า (Standardization)
- การเงิน (Financing
- การเสี่ยงภัย (Risk)
- การขนส่ง (Transportation)
การผลิตกับการสร้างอรรถประโยชน์
คำว่า อรรถประโยชน์ (utility) หมายถึงความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือ
บริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
โดยทั่วไปการผลิตหรือการสร้างอรรถประโยชน์แบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
1. การสร้างอรรถประโยชน์จากการแปรรูป (form utility) เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการแปรรูปของปัจจัย
การผลิตหรือวัตถุดิบเพื่อให้เกิดเป็นสินค้า
จากแป้งสาลีเป็นขนมประเภทต่างๆ
จากเม็ดพลาสติกเป็นอุปกรณ์พลาสติก
จากเหล็กและไม้เป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
2. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านสถานที่ (place utility) เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการเคลื่อนย้ายสินค้า
ได้แก่ การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตมายังร้านค้าส่ง จากร้านค้าส่งมายัง
ร้านค้าปลีก และจากร้านค้าปลีกมายังผู้บริโภค
3. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านเวลา (time utility) แปรรูปปัจจัยการผลิตหรือ สินค้าและบริการให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น เช่น การถนอมอาหาร
4. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านกรรมสิทธิ์ (possession utility)
ยินยอมซึ่งกันและกัน เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ที่ดิน บ้าน ที่อยู่อาศัย รถยนต์ ฯลฯ
5. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านบริการ (service utility) เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการให้บริการ
โดยตรงแก่ผู้บริโภค ซึ่งได้แก่ การให้บริการทางการแพทย์ การศึกษา การขนส่ง
การธนาคาร การประกันภัย ฯลฯ
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้น โดยทั่วไปนิยมแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
1.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง
ข้อดี
จุดเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำประชาชนแต่ละคนเเท่าเทียมกัน
ข้อเสีย
ประชาชนไม่มีเสรีภาพที่จะผลิตหรือบริโภค
2.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่
- ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน
- เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ - มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
- รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ จากความสามารถและโอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนการผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน
ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ สิงคโปร์
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม
- รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
- ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น
-รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
- มีการวางแผนจากส่วนกลาง
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ สร้างความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม คือ ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาดและการไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น เกาหลี ลาว เวียดนาม
4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่
- เอกชนมีเสรีภาพ
- มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
- รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา )
- มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา พม่า เป็นต้น
ภาคเศรษฐกิจ
ภาคครัวเรือน
ภาคธุรกิจ
ภาครัฐบาล
ขั้นตอน - ขั้นของการผลิต
ปฐมภูมิ -การสร้างวัตถุดิบ เช่น ประมง ปลูกพืช
ทุติยภูมิ -การแปรรูป
ตติยภูมิ -การบริการ
แรงงาน
อุปทานเเรงงานส่วนเกิน = เกิดการว่างงาน
อุปสงค์เเรงงานส่วนเกิน = ขาดเเคลนเเรงงาน
เศรษฐศาสตร์มหภาค -ระดับประเทศ
เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น การ บริโภครวม การลงทุนรวม รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายของรัฐบาล อัตราการจ้างงานของประเทศ การเงินการธนาคาร การพัฒนาประเทศ ตลอดจนการค้าระหว่าง ประเทศ
เศรษฐศาสตร์จุลภาค -ระดับบุคคล
สาขาของเศรษฐศาสตร์ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน
สหกรณ์
องค์กรบุคลที่รวมตัวกันอย่างสมัคใจ โดนมีจุดมุ่งหมทนเพื่อดำเนินงานอย่างเดียวกัน เเบ่งปั่นผลประโยชน์กันตามหลักประชาธิปไตยมีด้วยกัน2ชนิด
•สหกรณ์ในภาคการเกษตร
-สหกรณ์นิคม จัดสรรที่ดินทำกิน
•สหกรนอกภาคการเกษตร
-สหกรณ์ร้านค้า ออมทรัพย์บริการ
บิดาสหกร โรเบิด ฮูเวิอร์
ของไทย กรมหมื่นฯ.สักอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น